วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
พื้นฐาน OOP

VB6 เป็น Object based programming (การเขียนโปรแกรมที่มีพื้นฐานจากวัตถุ) ส่วน VB.NET เป็นภาษา OOP โดยสมบูรณ์ไม่ใช่ว่าเป็นการปรับปรุง VB6 ให้เป็นเวอร์ชั่นใหม่เท่านั้นVisual Basic . NET สนับสนุน คุณลักษณะ OOP สำคัญ เช่น Encapsulation, Inheritance, Polymorphism, Properties และ Class


ทำไมจึงต้องเป็น OOP

ในการเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อนและมีความยาวมาก ภาษาคอมพิวเตอร์สมัยก่อนมักมักจะทำให้โปรแกรมวกวนสับสน ซึ่งมีผลให้ปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมได้ยาก และต้องใช้เวลามาก ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมจำเป็นต้องคิดค้นวิธีการใหม่เพื่อให้สามารถดำเนินการกับโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่มากได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือ OOP
ใน OOP ออบเจ็กต์เป็นชนิดของข้อมูลซึ่งประกอบด้วยกลุ่มของข้อมูลและกลุ่มของฟังก์ชั่น ให้ทำงานตามที่เราต้องการ โดยเราสนใจเฉพาะการทำงานของออบเจ็กต์ โดยไม่จำเป็นต้องสนใจรายละเอียดภายใน



คุณสมบัติของ OOP
1. มีการรวมข้อมูลเข้ากับฟังก์ชั่น (Encapsulation) เพื่อให้เป็นข้อมูลชนิดออบเจ็กต์
2. มีการสืบทอด(Inheritance) มีการสืบทอดคุณสมบัติต่างๆ ของออบเจ็กต์หนึ่งไปยังออบเจ็กต์ที่เป็น ผู้สืบทอด(Descendant) ได้หลายออบเจ็กต์ ทำให้เกิดความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันเป็นลำดับชั้น
3. มีหลายรูปแบบ(Polymorphism) คือคุณสมบัติที่เมื่อออบเจ็กต์ต่างๆ ได้รับคำสั่งเดียวกันจากโปรแกรมแล้ว แต่ละออบเจ็กต์จะทำงานตามแบบของตัวเองซึ่งทำให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน


แนวคิดของ OOP
1. ออบเจ็กต์ เป็นพื้นฐานของ OOP ปัญหาและขั้นตอนการทำงานจะทำให้อยู่ในรูปแบบออบเจ็กต์ เมื่อโปรแกรมทำงาน ออบเจ็กต์ จะติดต่อประสานงาน แลกเปลี่ยนข้อมูลกันโดยไม่ต้องรู้ข้อมูล และขั้นตอนการทำงานภายในออบเจ็กต์อื่นเลย
2. คลาส เป็นการนำเอาคุณลักษณะ(Attribute) และวิธีการ(Methode) เช่นข้อมูล, ตัวแปร หรือฟังก์ชั่น ที่มีความคล้ายคลึงกันมารวมเข้าไว้ด้วยกัน
3. Encapsulation ข้อมูล และฟังก์ชั่น ที่ถูกจัดเก็บไว้ในคลาส จะไม่สามารถเข้าถึงได้จากคลาสอื่น นอกจากจะมีการอนุญาติ หรือการสืบทอด
4. Inheritance เป็น กระบวนการที่ วัตถุ สามารถรับ คุณสมบัติ หรือ ฟังก์ชั่นการทำงาน ของวัตถุอื่นให้ สามารถนำมาใช้งานได้้ เช่น การเพิ่ม คุณสมบัติเพิ่มเติม ให้กับ class ที่มีอยู่ โดยไม่ต้อง แก้ไขมัน
5. Polymorphism ความสามารถในการทำงานมากกว่าหนึ่ง รูปแบบ โดยการทำงานที่แตกต่างกันในแต่ละกรณีจะขึ้นอยู่กับ ชนิดข้อมูล ที่ใช้ในการทำงาน
วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ตัวแปร(Variable)
การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกภาษาต้องเกี่ยวข้องกับตัวแปร(Variable) ชนิดของข้อมูลในวิชวลเบสิคมีหลายชนิดได้แก่


1. กลุ่มของชนิดข้อมูลที่เป็นตัวเลข ได้แก่ Byte, Integer, Long, Single และ Double ซึ่งแต่ละชนิดมีรายละเอียดดังนี้
Byte เป็นชนิดของข้อมูลซึ่งเป็นจำนวนเต็มมีค่าตั้งแต่ 0-255 ใช้หน่วยความจำ 1 ไบต์
Integer เป็นข้อมูลชนิดจำนวนเต็มมีค่าตั้งแต่ -32,768 ถึง 32,767 ใช้หน่วยความจำ 2 ไบต์
Long เป็นข้อมูลชนิดจำนวนเต็มมีค่าตั้งแต่ -2,147,483,648 ถึง 2,147,483,647 ใช้หน่วยความจำ 4 ไบต์
Single เป็นข้อมูลชนิดจำนวนจริงมีค่าตั้งแต่ -3.402823E+38 ถึง -4.94065E-45 และส่วนที่เป็นจำนวนจริงบวกมีค่าตั้งแต่ 1.40129E-45 ถึง 3.402823E+38 ใช้หน่วยความจำ 4 ไบต์
Double เป็นข้อมูลชนิดจำนวนจริงมีค่าตั้งแต -1.797693134862316E+308 ถึง -4.94065E-324 และส่วนที่เป็นจำนวนจริงบวกมีค่าตั้งแต่ 4.94065E-324 ถึง 1.797693134862316E+308 ใช้หน่วยความจำ 8 ไบต์


2. เป็นข้อมูลชนิดที่เป็นตรรกะ ได้แก่ Boolean มี 2 ค่า คือ จริง และเท็จ


3. เป็นข้อมูลชนิดที่เกี่ยวกับการเงิน ได้แก่ Currency


4. เป็นข้อมูลชนิดที่เป็นตัวอักษรหรือข้อความ ได้แก่ String


5. ชนิดข้อมูลที่เป็นวันที่ ได้แก่ Date


6. กลุ่มข้อมูลที่กำหนดโดยผู้ใช้


รูปแบบของการประกาศตัวแปรเป็นดังนี้

Dim ชื่อของตัวแปร AS ชนิดของตัวแปร



คำสั่งแบบมีการตัดสินใจ(Selection หรือ Decision Statement)

เป็นคำสั่งเพื่อเลือกทำงานสำหรับเงื่อนไขหรือกรณีใดๆมี2 คำสั่งคือ



    1. คำสั่ง IF มีหลายแบบคือ
  • if..... then
  • if.....then.....end if
  • if.....then.....else.....end if
  • if.....then.....elseif.....else.....endif


    2. คำสั่ง Select case.....end select



โปรแกรมย่อยและฟังก์ชั่น(Subroutines and Functions)

เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยแบ่งโค๊ดโปรแกรมให้เล็กลง ลดความซับซ้อน ดูและแก้ไขได้ง่าย


Subหรือ Subroutine เป็นโปรแกรมย่อยที่ไม่มีการส่งค่ากลับ มีรูปแบบดังนี้
[Private|Public] [Static] Sub <ชื่อของโปรแกรมย่อย> (พารามิเตอร์ที่ส่งมา)
'ชุดคำสั่ง
[exit sub]
End Sub
โดย
Private หรือ Public เป็นการประกาศขอบเขตของโปรแกรมย่อย
Static เป็นการกำหนดให้ค่าในตัวแปรยังคงอยู่ถึงแม้จะออกจากโปรแกรมย่อยแล้ว
Exit Sub เมื่อพบคำสั่งนี้จะเป็นการออกจากคำสั่งย่อย
End Sub เป็นคำสั่งจบการทำงานของโปรแกรมย่อย


Function เป็นโปรแกรมย่อยที่มีการส่งค่ากลับมา มีรูปแบบดังนี้
[Private|Public] [Static] Function <ชื่อของโปรแกรมย่อย> (พารามิเตอร์ที่ส่งมา) as type
'ชุดคำสั่ง
[exit sub]
End Sub
โดย
Private หรือ Public เป็นการประกาศขอบเขตของโปรแกรมย่อย
Static เป็นการกำหนดให้ค่าในตัวแปรยังคงอยู่ถึงแม้จะออกจากโปรแกรมย่อยแล้ว
as type เป็นชนิดของข้อมูลที่ฟังก์ชั่นส่งกลับมา
Exit Sub เมื่อพบคำสั่งนี้จะเป็นการออกจากคำสั่งย่อย
End Sub เป็นคำสั่งจบการทำงานของโปรแกรมย่อย


นิพจน์บูลีน(Boolean Expression)
นิพจน์ จะต้องมีเครื่องหมายในการคำนวณ หรือตัวดำเนินการ(Operator) และตัวถูกดำเนินการ(Operand) เข้ามาเกี่ยวข้อง มี 3 ชนิดคือ
1. เครื่องหมายคณิตศาสตร์ได้แก่ +, -, *, /, Mod, ^(ยกกำลัง)
2. เครื่องหมายเปรียบเทียบได้แก่ <, <=, >, >=, =, <>
3. เครื่องหมายตรรกะวิทยาได้แก่ AND, OR, NOT


ผลลัพธ์ที่ได้จาการใช้เครื่องหมายตรรกะวิทยา

T And T = T
T And F = F
F And F = F
F And T = F


T Or T = T
T Or F = T
F Or T = T
F Or F = F


Not T = F
Not F = T



ลำดับความสำคัญคัญหรือลำดับก่อนหลังในการคำนวณ


  1. [^(ยกกำลัง)] คำนวณจากซ้ายไปขวา
  2. [-(Unary), Not] คำนวณจากขวาไปซ้าย
  3. [*, /] คำนวณจากซ้ายไปขวา
  4. [\] คำนวณจากซ้ายไปขวา
  5. [MOD] คำนวณจากซ้ายไปขวา
  6. [+, -] คำนวณจากซ้ายไปขวา
  7. [=] คำนวณจากซ้ายไปขวา
  8. [<>] คำนวณจากซ้ายไปขวา
  9. [<] คำนวณจากซ้ายไปขวา
  10. [>] คำนวณจากซ้ายไปขวา
  11. [<=] คำนวณจากซ้ายไปขวา
  12. [>=] คำนวณจากซ้ายไปขวา
  13. [AND] คำนวณจากซ้ายไปขวา
  14. [OR] คำนวณจากซ้ายไปขวา



คำสั่งแบบทำซ้ำ (Loop หรือ Repetition Statement)


คำสั่ง For.....Next
รูปแบบคำสั่ง
For ตัวแปร = ค่าเริ่มต้น TO ค่าสุดท้าย Step ค่าที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงแต่ละครั้ง
Statement
Next ตัวแปร


คำสั่ง DO While.....Loop
เป็นคำสั่งให้ทำชุดคำสั่งข้างในขณะที่เงื่อนไขเป็นจริง มีรูปแบบดังนี้
Do While เงื่อนไขในการตรวจสอบว่าต้องเป็นจริง
ชุดคำสั่ง
Loop


คำสั่ง DO UNTIL....LOOP
เป็นคำสั่งให้ทำงานตามชุดคำสั่งข้างในจนกระทั่งพบเงื่อนไขเป็นจริงจึงหยุดทำ มีรูปแบบคำสั่งดังนี้
DO UNTIL เงื่อนไขในการตรวจสอบว่าต้องเป็นจริง
ชุดคำสั่ง
LOOP


คำสั่ง DO.....LOOP WHILE
เหมือนคำสั่ง DO WHILE....LOOP แต่ต่างกันที่ DO WHILE...LOOP จะมีการตรวจสอบเงื่อนไขก่อนแล้วจึงทำชุดคำสั่ง แต่ DO …..LOOP WHILE จะทำคำสั่งในครั้งแรกก่อนเลย แล้วค่อยตรวจสอบ มีรูปแบบคำสั่งดังนี้
DO
ชุดคำสั่ง
LOOP WHILE เงื่อนไขในการตรวจสอบว่าต้องเป็นจริง


คำสั่ง DO.....LOOP UNTIL
การทำงานจะเหมือน DO UNTIL....LOOP แต่ ต่างกันที่การตรวจสอบเงื่อนไขในครั้งแรกเท่านั้น มีรูปแบบดังนี้
DO
ชุดคำสั่ง
LOOP UNTIL เงื่อนไขในการตรวจสอบว่าต้องเป็นจริง


ข้อมูลชนิดอาร์เรย์(Array)
เป็นชุดของตัวแปรที่มีชื่อเหมือนกันและมีชนิดของข้อมูลเหมือนกันเหมาะสำหรับเก็บข้อมูลที่มีชนิดเดียวกันมากๆ
อาร์เรย์ยังสามารถแบ่งเป็น 1 มิติ, 2 มิติ, 3 มิติ และมากกว่า 3 มิติ มีรูปแบบของการประกาศตัวแปรดังนี้
Dim ชื่อตัวแปร(จำนวนค่า) As ชนิดข้อมูล
Dim ชื่อตัวแปร(จำนวนค่า, จำนวนค่า) As ชนิดข้อมูล <2 มิติ >
Dim ชื่อตัวแปร(จำนวนค่า, จำนวนค่า, จำนวนค่า) As ชนิดข้อมูล <3 มิติ >


ตัวแปรแบบที่กำหนดขึ้นเอง(Type)
เป็นตัวแปรที่ผู้ใช้สามารถกำหนดขึ้นเองได้มีรูปแบบดังนี้


Type <ชื่อ Type>
<การประกาศค่าตัวแปร>
End Type
วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
.Net Framework คืออะไร
.Net Framework เป็นแพลตฟอร์มใหม่ และเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดย บริษัท Microsoft เพื่อใช้สำหรับ การพัฒนา Application .Net Framework ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถ ถูกใช้จากภาษาใดๆ ก็ได้ รวมถึง C# ด้วย รวมถึง ภาษา C++, Visual Basic, JScript, Delphi และอื่นๆ เพื่อให้สิ่งเหล่านี้เป็นไปได้ จึงเกิดภาษาเหล่านี้ ขึ้นมาในรูปของ Version เฉพาะ สำหรับ .Net อีกด้วย ได้แก่ภาษา Managed C++, Visual Basic.Net, Jscript .Net,Borland C#, Delphi8 เป็นต้น และมีอีก มากว่านี้ ที่กำลังพัฒา และปล่อยอกสู่ท้องตลาดอยู่ ตลอดเวลา ไม่ใช่เพียงแค่ภาษาทั้งหมดเหล่านี้ จะมีการเข้าถึง .Net Framework เท่านั้น แต่มันยังสามารถสื่อสาร กับภาษาอื่นๆ ได้อีกด้วย

สิ่งที่อยู่ใน .Net Framework
.Net Framework พื้นฐานประกอบขึ้นด้วย Libary ของ Source Code ขนาดมหึมา ซึ่งเราเรียกใช้จากภาษา Client ของเรา เช่น C#, C++ .Net โดยการใช้เทคนิคเชิงวัตถุ (OOP) Libary ที่ว่านี้ ถูกแบ่งกลุ่มออกเป็น Modul ต่างๆ ดังนั้นเราจึงใช้ส่วนของมัน ตามผลลัพธ์ที่เราต้องการได้ เช่น Windows Application เป็นต้น จุดมุ่งหมายในที่นี้ก็คือ ระบบปฏิบัติการ ที่แตกต่างกัน อาจจะสนับสนุน Modul เหล่านี้ บาง Modul หรือทั้งหมด ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของมัน เช่น PDA จะรวมเอาการสนับสนุน Function หน้าที่ที่เป็นแก่นของ .Net ทั้งหมด เป็นต้น
ส่วน Libary .Net Framework กำหนดชนิด ข้อมูลพื้นฐานบางอย่างเอาไว้ ชนิดข้อมูลเป็นตัวแทนของข้อมูล และการแบ่งกฏเกณฑ์ทั้งหลายเหล่านี้ ที่จะส่งเสริมความสามารถ ในการสัมพันธ์ระหว่างภาษา โดยใช้ .Net Framework สิ่งนี้ถูกเรียกว่า Common Type System (CTS) เช่นเดียวกับการจัดให้มี Libary .Net Common Language Runtime (CLR) ซึ่งรับผิดชอบในการจัดการ กับ ระบบ)ฏิบัติการ ของ Application ทั้งหมดที่ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วย Libary .Net Framework


ที่มา http://www.thai-programmer.com/?DPage=90100101


ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก (.NET Framework) คือแพลตฟอร์มสำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์สร้างขึ้นโดยไมโครซอฟท์ โดยรองรับภาษาดอตเน็ตมากกว่า 40 ภาษา[1] ซึ่งมีไลบรารีเป็นจำนวนมากสำหรับการเขียนโปรแกรม รวมถึงบริหารการดำเนินการของโปรแกรมบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก โดยไลบรารีนั้นได้รวมถึงส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ การเชื่อมต่อฐานข้อมูล วิทยาการเข้ารหัสลับ อัลกอริทึม การเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน
โปรแกรมที่เขียนบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก จะทำงานบนสภาพแวดล้อมที่บริหารโดย Common Language Runtime (CLR) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก โดย CLR นั้นเตรียมสภาพแวดล้อมเสมือน ทำให้ผู้พัฒนาไม่ต้องคำนึงถึงความสามารถที่แตกต่างระหว่างหน่วยประมวลผลต่างๆ และ CLR ยังให้บริการด้านกลไกระบบความปลอดภัย การบริหารหน่วยความจำ และException handling ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กนั้นออกแบบมาเพื่อให้การพัฒนาซอฟต์แวร์ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และปลอดภัยขึ้นกว่าเดิม
ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กนั้นยังได้เป็นส่วนประกอบในระบบปฏิบัติการวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 และวินโดวส์วิสตา ซึ่งรุ่นแรกได้ออกในปีพ.ศ. 2545 รุ่นที่สองได้ออกในปีพ.ศ. 2548 ซึ่งตั้งแต่รุ่นแรกถึงรุ่นสองนั้นได้รองรับระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์เกือบทุกรุ่น และรุ่นที่สาม ซึ่งเป็นรุ่นปัจจุบันได้ออกวันที่6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 โดยได้รองรับวินโดวส์เอกซ์พี SP2 วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 SP1 และวินโดวส์วิสตา


ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81



ประวัติความเป็นมาของ Visual Basic

Visual Basic เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่สร้างระบบปฏิบัติการ Windows 95/98 และ Windows NT ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยตัวภาษาเองมีรากฐานมาจากภาษา Basic ซึ่งย่อมาจาก Beginner’s All Purpose Symbolic Instruction ถ้าแปลให้ได้ตามความหมายก็คือ “ชุดคำสั่งหรือภาษาคอมพิวเตอร์สำหรับผู้เริ่มต้น” ภาษา Basic มีจุดเด่นคือผู้ที่ไม่มีพื้นฐานเรื่องการเขียนโปรแกรมเลขก็สามารถเรียนรู้และนำไปใช้งานได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว เมื่อเทียบกับการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์อื่นๆ เช่น ภาษาซี (C). ปาสคาส (Pascal). ฟอร์แทรน (Fortian) หรือ แอสเชมบลี (Assembler)
ไมโครซอฟท์ที่ได้พัฒนาโปรแกรมภาษา Basic มานานนับสิบปี ตั้งแต่ภาษา MBASIC (Microsoft Basic). BASICA (Basic Advanced): GWBASIC และ QuickBasic ซึ่งได้ติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Ms DOS ในที่สุดโดยใช้ชื่อว่า QBASIC โดยแต่ละเวอร์ชันที่ออกมานั้นได้มีการพัฒนาและเพิ่มเติมคำสั่งต่างๆเข้าไปโดยตลอด ในอดีตโปรแกรมภาษาเหล่านี้ล้วนทำงานใน Text Mode คือเป็นตัวอักษรล้วนๆ ไม่มีภาพกราฟฟิกสวยงามแบบระบบ Windows อย่างในปัจจุบัน จนกระทั่งเมื่อระบบปฏิบัติการ Windows ได้รับความนิยมอย่างสูงและเข้ามาแทนที่ DOS ไมโครซอฟท์ก็เล็งเห็นว่าโปรแกรมภาษาใน Text Mode นั้นคงถึงกาลที่หมดสมัย จึงได้พัฒนาปรับปรุงโปรแกรมภาษา Basic ของตนออกมาใหม่เพื่อสนับสนุนการทำงานในระบบ Windows ทำให้ Visual Basic ถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่บัดนั้น
Visual Basic เวอร์ชันแรกคือเวอร์ชัน 1.0 ออกสู่สายตาประชาชนตั้งแต่ปี 1991 โดยในช่วงแรกนั้นยังไม่มีความสามารถต่างจากภาษา GBASIC มากนัก แต่จะเน้นเรื่องเครื่องมือที่ช่วยในการเขียนโปรแกรมวินโดว์ซึ่งปรากฏว่า Visual Basic ได้รับความนิยมและประความสำเร็จเป็นอย่างดีไมโครซอฟท์จึงพัฒนา Visual Basic ให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในด้านประสิทธิภาพ ความสามารถ และเครื่องมือต่างๆเช่น เครื่องมือตรวจสอบแก้ไขโปรแกรม (debugger) สภาพแวดล้อมของการพัฒนาโปรแกรม การเขียนโปรแกรมแบบหลายวินโดว์ย่อย (MDI) และอื่นๆ อีกมากมาย
สำหรับ Visual Basic ในปัจจุบันคือ Visual Basic 2008 ซึ่งออกมาในปี 2008 ได้เพิ่มความสามารถในการเขียนโปรแกรมติดต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูล รวมทั้งปรับปรุงเครื่องมือและการเขียนโปรแกรมซึ่งวัตถุ (Object Oriented Programming) ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นพร้อมทั้งเพิ่มเครื่องมือต่างๆอีกมากมายที่ทำให้ใช้งายและสะดวกขึ้นกว่าเดิม โดยเราจะค่อยๆมาเรียนรู้ส่วนประกอบและเครื่องมือต่างๆอีกมากมายที่ทำให้ใช้ง่ายและสะดวกขึ้นกว่าเดิม




Visual Basic 2008


Visual Basic 2008 เกือบจะคล้าย Visual Basic 2005 แต่มันได้เพิ่มความสามารถใหม่มามากมาย Visual Basic 2008 คือภาษาการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุที่มีรายละเอียดครบถ้วน ถ้าคุณที่คุ้นเคยกับ Visual Basic 6 อยู่แล้ว คุณสามารถเรียนรู้ VB2008 ได้ง่ายพราะว่ามีส่วนที่คล้ายกัน ซึ่ง Visual Basic 2008 นี้เป็นตัวที่พัฒนามาจาก Visual Basic 6


ที่มา http://vbasic2008.doubleclickspace.com/history.htmlleclickspace.com/history.html

Visual Basic 2008 เป็นโปรแกรมฟรีสามารถหาโหลดได้จากที่นี่
http://www.microsoft.com/express/Downloads/

เรามาลองเริ่มต้นเขียนโปรแกรมแรกกันดีกว่า

เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาจะมีหน้าตาแบบนี้ครับ


















เริ่มทำงานโดยกด new project เลือกเป็นแบบ Console Application
















จากนั้นลองเพิ่มโค๊ด ระหว่าง sub main() กับ end sub

Console.WriteLine("Welcome to Visual Basic .NET!")
Console.ReadLine()






















เมื่อกด F5 เพื่อรันโปรแกรมจะได้ผลดังรูป

















ไม่ยากใช่ไหมครับสำหรับโปรแกรมแรก

ผู้ติดตาม

ขับเคลื่อนโดย Blogger.