วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
พื้นฐาน OOP

VB6 เป็น Object based programming (การเขียนโปรแกรมที่มีพื้นฐานจากวัตถุ) ส่วน VB.NET เป็นภาษา OOP โดยสมบูรณ์ไม่ใช่ว่าเป็นการปรับปรุง VB6 ให้เป็นเวอร์ชั่นใหม่เท่านั้นVisual Basic . NET สนับสนุน คุณลักษณะ OOP สำคัญ เช่น Encapsulation, Inheritance, Polymorphism, Properties และ Class


ทำไมจึงต้องเป็น OOP

ในการเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อนและมีความยาวมาก ภาษาคอมพิวเตอร์สมัยก่อนมักมักจะทำให้โปรแกรมวกวนสับสน ซึ่งมีผลให้ปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมได้ยาก และต้องใช้เวลามาก ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมจำเป็นต้องคิดค้นวิธีการใหม่เพื่อให้สามารถดำเนินการกับโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่มากได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือ OOP
ใน OOP ออบเจ็กต์เป็นชนิดของข้อมูลซึ่งประกอบด้วยกลุ่มของข้อมูลและกลุ่มของฟังก์ชั่น ให้ทำงานตามที่เราต้องการ โดยเราสนใจเฉพาะการทำงานของออบเจ็กต์ โดยไม่จำเป็นต้องสนใจรายละเอียดภายใน



คุณสมบัติของ OOP
1. มีการรวมข้อมูลเข้ากับฟังก์ชั่น (Encapsulation) เพื่อให้เป็นข้อมูลชนิดออบเจ็กต์
2. มีการสืบทอด(Inheritance) มีการสืบทอดคุณสมบัติต่างๆ ของออบเจ็กต์หนึ่งไปยังออบเจ็กต์ที่เป็น ผู้สืบทอด(Descendant) ได้หลายออบเจ็กต์ ทำให้เกิดความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันเป็นลำดับชั้น
3. มีหลายรูปแบบ(Polymorphism) คือคุณสมบัติที่เมื่อออบเจ็กต์ต่างๆ ได้รับคำสั่งเดียวกันจากโปรแกรมแล้ว แต่ละออบเจ็กต์จะทำงานตามแบบของตัวเองซึ่งทำให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน


แนวคิดของ OOP
1. ออบเจ็กต์ เป็นพื้นฐานของ OOP ปัญหาและขั้นตอนการทำงานจะทำให้อยู่ในรูปแบบออบเจ็กต์ เมื่อโปรแกรมทำงาน ออบเจ็กต์ จะติดต่อประสานงาน แลกเปลี่ยนข้อมูลกันโดยไม่ต้องรู้ข้อมูล และขั้นตอนการทำงานภายในออบเจ็กต์อื่นเลย
2. คลาส เป็นการนำเอาคุณลักษณะ(Attribute) และวิธีการ(Methode) เช่นข้อมูล, ตัวแปร หรือฟังก์ชั่น ที่มีความคล้ายคลึงกันมารวมเข้าไว้ด้วยกัน
3. Encapsulation ข้อมูล และฟังก์ชั่น ที่ถูกจัดเก็บไว้ในคลาส จะไม่สามารถเข้าถึงได้จากคลาสอื่น นอกจากจะมีการอนุญาติ หรือการสืบทอด
4. Inheritance เป็น กระบวนการที่ วัตถุ สามารถรับ คุณสมบัติ หรือ ฟังก์ชั่นการทำงาน ของวัตถุอื่นให้ สามารถนำมาใช้งานได้้ เช่น การเพิ่ม คุณสมบัติเพิ่มเติม ให้กับ class ที่มีอยู่ โดยไม่ต้อง แก้ไขมัน
5. Polymorphism ความสามารถในการทำงานมากกว่าหนึ่ง รูปแบบ โดยการทำงานที่แตกต่างกันในแต่ละกรณีจะขึ้นอยู่กับ ชนิดข้อมูล ที่ใช้ในการทำงาน

0 ความคิดเห็น:

ผู้ติดตาม

ขับเคลื่อนโดย Blogger.