วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ตัวแปร(Variable)
การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกภาษาต้องเกี่ยวข้องกับตัวแปร(Variable) ชนิดของข้อมูลในวิชวลเบสิคมีหลายชนิดได้แก่


1. กลุ่มของชนิดข้อมูลที่เป็นตัวเลข ได้แก่ Byte, Integer, Long, Single และ Double ซึ่งแต่ละชนิดมีรายละเอียดดังนี้
Byte เป็นชนิดของข้อมูลซึ่งเป็นจำนวนเต็มมีค่าตั้งแต่ 0-255 ใช้หน่วยความจำ 1 ไบต์
Integer เป็นข้อมูลชนิดจำนวนเต็มมีค่าตั้งแต่ -32,768 ถึง 32,767 ใช้หน่วยความจำ 2 ไบต์
Long เป็นข้อมูลชนิดจำนวนเต็มมีค่าตั้งแต่ -2,147,483,648 ถึง 2,147,483,647 ใช้หน่วยความจำ 4 ไบต์
Single เป็นข้อมูลชนิดจำนวนจริงมีค่าตั้งแต่ -3.402823E+38 ถึง -4.94065E-45 และส่วนที่เป็นจำนวนจริงบวกมีค่าตั้งแต่ 1.40129E-45 ถึง 3.402823E+38 ใช้หน่วยความจำ 4 ไบต์
Double เป็นข้อมูลชนิดจำนวนจริงมีค่าตั้งแต -1.797693134862316E+308 ถึง -4.94065E-324 และส่วนที่เป็นจำนวนจริงบวกมีค่าตั้งแต่ 4.94065E-324 ถึง 1.797693134862316E+308 ใช้หน่วยความจำ 8 ไบต์


2. เป็นข้อมูลชนิดที่เป็นตรรกะ ได้แก่ Boolean มี 2 ค่า คือ จริง และเท็จ


3. เป็นข้อมูลชนิดที่เกี่ยวกับการเงิน ได้แก่ Currency


4. เป็นข้อมูลชนิดที่เป็นตัวอักษรหรือข้อความ ได้แก่ String


5. ชนิดข้อมูลที่เป็นวันที่ ได้แก่ Date


6. กลุ่มข้อมูลที่กำหนดโดยผู้ใช้


รูปแบบของการประกาศตัวแปรเป็นดังนี้

Dim ชื่อของตัวแปร AS ชนิดของตัวแปร



คำสั่งแบบมีการตัดสินใจ(Selection หรือ Decision Statement)

เป็นคำสั่งเพื่อเลือกทำงานสำหรับเงื่อนไขหรือกรณีใดๆมี2 คำสั่งคือ



    1. คำสั่ง IF มีหลายแบบคือ
  • if..... then
  • if.....then.....end if
  • if.....then.....else.....end if
  • if.....then.....elseif.....else.....endif


    2. คำสั่ง Select case.....end select



โปรแกรมย่อยและฟังก์ชั่น(Subroutines and Functions)

เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยแบ่งโค๊ดโปรแกรมให้เล็กลง ลดความซับซ้อน ดูและแก้ไขได้ง่าย


Subหรือ Subroutine เป็นโปรแกรมย่อยที่ไม่มีการส่งค่ากลับ มีรูปแบบดังนี้
[Private|Public] [Static] Sub <ชื่อของโปรแกรมย่อย> (พารามิเตอร์ที่ส่งมา)
'ชุดคำสั่ง
[exit sub]
End Sub
โดย
Private หรือ Public เป็นการประกาศขอบเขตของโปรแกรมย่อย
Static เป็นการกำหนดให้ค่าในตัวแปรยังคงอยู่ถึงแม้จะออกจากโปรแกรมย่อยแล้ว
Exit Sub เมื่อพบคำสั่งนี้จะเป็นการออกจากคำสั่งย่อย
End Sub เป็นคำสั่งจบการทำงานของโปรแกรมย่อย


Function เป็นโปรแกรมย่อยที่มีการส่งค่ากลับมา มีรูปแบบดังนี้
[Private|Public] [Static] Function <ชื่อของโปรแกรมย่อย> (พารามิเตอร์ที่ส่งมา) as type
'ชุดคำสั่ง
[exit sub]
End Sub
โดย
Private หรือ Public เป็นการประกาศขอบเขตของโปรแกรมย่อย
Static เป็นการกำหนดให้ค่าในตัวแปรยังคงอยู่ถึงแม้จะออกจากโปรแกรมย่อยแล้ว
as type เป็นชนิดของข้อมูลที่ฟังก์ชั่นส่งกลับมา
Exit Sub เมื่อพบคำสั่งนี้จะเป็นการออกจากคำสั่งย่อย
End Sub เป็นคำสั่งจบการทำงานของโปรแกรมย่อย


นิพจน์บูลีน(Boolean Expression)
นิพจน์ จะต้องมีเครื่องหมายในการคำนวณ หรือตัวดำเนินการ(Operator) และตัวถูกดำเนินการ(Operand) เข้ามาเกี่ยวข้อง มี 3 ชนิดคือ
1. เครื่องหมายคณิตศาสตร์ได้แก่ +, -, *, /, Mod, ^(ยกกำลัง)
2. เครื่องหมายเปรียบเทียบได้แก่ <, <=, >, >=, =, <>
3. เครื่องหมายตรรกะวิทยาได้แก่ AND, OR, NOT


ผลลัพธ์ที่ได้จาการใช้เครื่องหมายตรรกะวิทยา

T And T = T
T And F = F
F And F = F
F And T = F


T Or T = T
T Or F = T
F Or T = T
F Or F = F


Not T = F
Not F = T



ลำดับความสำคัญคัญหรือลำดับก่อนหลังในการคำนวณ


  1. [^(ยกกำลัง)] คำนวณจากซ้ายไปขวา
  2. [-(Unary), Not] คำนวณจากขวาไปซ้าย
  3. [*, /] คำนวณจากซ้ายไปขวา
  4. [\] คำนวณจากซ้ายไปขวา
  5. [MOD] คำนวณจากซ้ายไปขวา
  6. [+, -] คำนวณจากซ้ายไปขวา
  7. [=] คำนวณจากซ้ายไปขวา
  8. [<>] คำนวณจากซ้ายไปขวา
  9. [<] คำนวณจากซ้ายไปขวา
  10. [>] คำนวณจากซ้ายไปขวา
  11. [<=] คำนวณจากซ้ายไปขวา
  12. [>=] คำนวณจากซ้ายไปขวา
  13. [AND] คำนวณจากซ้ายไปขวา
  14. [OR] คำนวณจากซ้ายไปขวา



คำสั่งแบบทำซ้ำ (Loop หรือ Repetition Statement)


คำสั่ง For.....Next
รูปแบบคำสั่ง
For ตัวแปร = ค่าเริ่มต้น TO ค่าสุดท้าย Step ค่าที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงแต่ละครั้ง
Statement
Next ตัวแปร


คำสั่ง DO While.....Loop
เป็นคำสั่งให้ทำชุดคำสั่งข้างในขณะที่เงื่อนไขเป็นจริง มีรูปแบบดังนี้
Do While เงื่อนไขในการตรวจสอบว่าต้องเป็นจริง
ชุดคำสั่ง
Loop


คำสั่ง DO UNTIL....LOOP
เป็นคำสั่งให้ทำงานตามชุดคำสั่งข้างในจนกระทั่งพบเงื่อนไขเป็นจริงจึงหยุดทำ มีรูปแบบคำสั่งดังนี้
DO UNTIL เงื่อนไขในการตรวจสอบว่าต้องเป็นจริง
ชุดคำสั่ง
LOOP


คำสั่ง DO.....LOOP WHILE
เหมือนคำสั่ง DO WHILE....LOOP แต่ต่างกันที่ DO WHILE...LOOP จะมีการตรวจสอบเงื่อนไขก่อนแล้วจึงทำชุดคำสั่ง แต่ DO …..LOOP WHILE จะทำคำสั่งในครั้งแรกก่อนเลย แล้วค่อยตรวจสอบ มีรูปแบบคำสั่งดังนี้
DO
ชุดคำสั่ง
LOOP WHILE เงื่อนไขในการตรวจสอบว่าต้องเป็นจริง


คำสั่ง DO.....LOOP UNTIL
การทำงานจะเหมือน DO UNTIL....LOOP แต่ ต่างกันที่การตรวจสอบเงื่อนไขในครั้งแรกเท่านั้น มีรูปแบบดังนี้
DO
ชุดคำสั่ง
LOOP UNTIL เงื่อนไขในการตรวจสอบว่าต้องเป็นจริง


ข้อมูลชนิดอาร์เรย์(Array)
เป็นชุดของตัวแปรที่มีชื่อเหมือนกันและมีชนิดของข้อมูลเหมือนกันเหมาะสำหรับเก็บข้อมูลที่มีชนิดเดียวกันมากๆ
อาร์เรย์ยังสามารถแบ่งเป็น 1 มิติ, 2 มิติ, 3 มิติ และมากกว่า 3 มิติ มีรูปแบบของการประกาศตัวแปรดังนี้
Dim ชื่อตัวแปร(จำนวนค่า) As ชนิดข้อมูล
Dim ชื่อตัวแปร(จำนวนค่า, จำนวนค่า) As ชนิดข้อมูล <2 มิติ >
Dim ชื่อตัวแปร(จำนวนค่า, จำนวนค่า, จำนวนค่า) As ชนิดข้อมูล <3 มิติ >


ตัวแปรแบบที่กำหนดขึ้นเอง(Type)
เป็นตัวแปรที่ผู้ใช้สามารถกำหนดขึ้นเองได้มีรูปแบบดังนี้


Type <ชื่อ Type>
<การประกาศค่าตัวแปร>
End Type

0 ความคิดเห็น:

ผู้ติดตาม

ขับเคลื่อนโดย Blogger.